มนุษย์ล่องหน

มนุษย์ล่องหน

คุณบริโภคแรงงานที่มองไม่เห็นในขณะเดียวกันแรงงานที่คุณขายออกไป ก็มิอาจมองเห็นได้เช่นกัน พวกเราล้วนแปลกแยกจากสิ่งที่เราผลิตและสิ่งที่เราบริโภค จะเป็นไปได้บ้างไหม ที่เราจะมองทะลุม่านหมอกแห่งความยุ่งเหยิงไปเจอ ”แรงงาน” ที่ถูกซ่อนไว้ได้สักที

ความเป็น”ทางผ่าน” (Liminality)

พื้้นที่ๆมีความเป็นลิมินอล(Liminal) หรือ ลิมินอลสเปซนิยามได้ว่าเป็น “พื้นที่ว่างทางกายภาพระหว่างจุดหมายหนึ่งไปยังจุดหมายต่อไป” ตัวอย่างของพื้นที่เหล่านี้ได้แก่ โถงทางเดิน,สนามบินและถนน สถาปัตยกรรมแนวบรรษัทสมัยใหม่ (Modern corporate architecture) มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความลิมินอลสูงเพราะมันดูเรียบ,ขาดบุคลิก,มันไม่ใช่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง มันเป็นแค่ “ทางผ่าน” เท่านั้น มันขาดจิตวิญญาน ข้อวิจารณ์เหล่านี้มักถูกใช้กับ “ศิลปะแนวบรรษัทเมมฟิส” (corporate Memphis art style) มันคือเหล่าการออกแบบคาแรคเตอร์ผู้คนแบนๆ เรียบๆ จืดๆ ที่ปรากฏเกลื่อนกลาดในการตลาดของบรรษัทต่างๆ ผมจะขอย้ำอีกครั้งว่ามันไร้ซึ่งจิตวิญญาณ 

ที่กล่าวมาเป็นการวิจารณ์ในมุมมองแบบสุนทรียศาสตร์ถึงความเรียบเฉยจืดชืด ขาดปฏิสัมพันธ์ และดูห่างเหิน แต่เราก็สามารถนำแนวคิดนี้มาใช้มองผู้คนจริงๆ ในชีวิตประจำวันที่เราต่างประสบพบเจอ ซึ่งทำให้เราเห็นถึงความจริงอันน่าเจ็บปวด ความจริงที่ว่าผู้คนนับพันล้านคนที่ลงมือสร้างและช่วยกันพยุงโลกของเราไว้ พวกเขาล้วนแต่เป็น “มนุษย์ทางผ่าน” เป็นแรงงานที่มิอาจมองเห็นผู้ผลักกลจักรแห่งทุนให้หมุนต่อไป พวกเขา คือ 

เหล่าผู้คนที่ขนผักไปวางบนเชลฟ์ในห้างสรรพสินค้าตลอดค่ำคืน 

พนังงานโกดังที่ขนย้ายสินค้าตั้งแต่พลบค่ำยันย่ำรุ่ง

พนักงานท่าเรือและเหล่ากะลาสีที่เดินเรือบรรทุกสรรพสินค้าแสนมีค่าที่พวกเราสั่งซื้อมา

เหล่าคนงานในฟาร์มที่ต้องขมักเขม้นเค้นงานบนผืนแผ่นดินแสนไกลจากบ้านของพวกเขา

ผู้คนเหล่านี้เอง..

คือ “แรงงานทางผ่าน” เป็น “มนุษย์ทางผ่าน” ที่ค้ำยันเสาหลักแห่ง “สังคมทุนนิยมอันศิวิไลซ์” ให้หยัดยืนต่อไป มิาจมองเห็นได้ผ่านสายตาเมินเฉยของเหล่าผู้บริโภค 

แน่นอนว่าส่วนใหญ่ของแรงงานที่กล่าวมานี้ เป็นผลมาจากการขูดรีดของผู้คนในซีกโลกเหนือ ที่กระทำต่อผู้คนในซีกโลกใต้ ปฏิสัมพันธ์เดียวหากจะพึงมี ระหว่างแรงงานที่กำลังเก็บฟาง กับ คนที่กำลังกินสเต็กเนื้อจานโปรด คือ ตอนนักท่องเที่ยวจากประเทศเจ้าอาณานิคม ไปเที่ยวประเทศอดีตใต้อาณานิคมไกลปืนเที่ยง เขาอาจเผลอเหลือบมองแรงงานผู้น่าสงสารเหล่านั้นขณะกำลังแบ็คแพ็คกิ้ง หรือไม่ก็เขากำลังอ่านผลิกหน้าหนังสือ National geographic เขาอาจเปิดไปเจอศพของกะลาสีเรือโดนคลื่นซัดขึ้นมาเกยบนชายหาด

แต่ในซึกโลกใต้เราอาจเรียกได้ว่าแรงงานทางผ่านนั้นอยู่ในสภาวะ “กึ่งล่องหน” สำหรับชนชั้นบน ถือว่ามีปฏิสัมพันธ์บางอย่างระหว่างชนชั้นอยู่เหมือนกัน แม้ว่าจะถูกคั่นและคัดกรองผ่านรูปแบบของทุน เหล่าผู้ดีกรุงเทพขณะนั่งอยู่ในรถติดแอร์คันงาม ก็อาจมองเห็นสลัมในกรุงเทพแบบผ่านๆ ในชีวิตแต่ละวัน ทว่ามองเห็นจากระยะไกล

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม

ใครกันที่ฆ่าไก่ให้ผมกิน

ใครกันเป็นคนถักทอเสื้อตัวนี้

ข้าวเป็นยังไงบ้าง ?

คุณกินไก่ของคุณหมดมั้ย ?

เสื้อผ้าใส่สบายรึเปล่า ?

แล้วพวกเขาเหล่านั้นชื่ออะไร ? พวกเขาเป็นยังไงบ้างวันนี้ ? พวกเขาสบายดีไหม ? พวกเขากำลังมีความรักรึเปล่า ? 

แล้วแม่กับยายของพวกเขาล่ะ ? เหล่าแรงงานการผลิตซ้ำ (1) ผู้ถูกซ่อนไว้ในใต้ถุนบ้าน ผู้ช่วยสร้างเหล่ามนุษย์ทางผ่านที่ผมรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณยิ่งนัก พวกเขา (เหล่าแรงงานการผลิตซ้ำ) เองก็มีส่วนร่วมในการผลิตไก่ในแกงที่ผมกิน,ข้าวในจาน,เสื้อที่ผมสวมใส่ ผู้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าผู้เป็นแรงงานล่องหน ถูกขูดรีดเอากำไร ถูกซ่อนไว้ในใต้ถุนบ้าน ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่บ้าน,ในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า 

ผมถูกสร้างขึ้นบนหลังของแรงงานเหล่านี้ เช่นเดียวกับคุณผู้อ่าน คุณเองก็เป็นมนุษย์ล่องหนเหมือนกัน 

(1) แรงงานแห่งผลิตซ้ำ (Reproductive labour) คือ แรงงานที่ทำงานในหน้าที่ๆ จำเป็นต่อระบบทุนนิยมแต่ไม่ถูกนับเป็นการผลิต เช่น การดูแลเด็ก,คนชรา,กวาดบ้านถูบ้าน,ทำอาหาร ฯลฯ (ผู้แปล)

เหล่าบรรพบุรุษล่องหน

เหล่าแรงงานล่องในตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีส่วนร่วมต่อทุกแง่มุมของวัตถุ และ ภูมิปัญญา ของสรรพสิ่งในชีวิตเรา ไม่ว่าแรงงานนั้นจะได้รับค่าจ้างหรือไม่ ถนนในเมืองลอนดอนถูกปูโดยแรงงานล่องหนจากประเทศใต้อาณานิคม คูคลองและทางน้ำในประเทศไทยถูกขุดก่อโดยแรงงานไพร่ไร้ค่าจ้าง หม้อหุงข้าวที่ผมใช้ทำอาหารเที่ยง ถูกประดิษฐ์และพัฒนามากว่าศตวรรษโดยวิศวกรไฟฟ้าล่องหน ใครกันที่เดินแบกกระสอบข้าวผ่านถนนที่ถูกปูคูที่ถูกขุด ใครกันสอนพวกเขาใช้ช้อน สอนพวกเขาเดิน สอนพวกเขาพูด สอนให้อ่านเขียน สอนให้เข้าสังคมเป็น ?

โศกนาฏกรรมที่แท้จริง คงเป็นการที่แรงงานล่องหนส่วนใหญ่ ล้วนแต่ตรากตรำทำงานเพื่อผลิตซ้ำและพัฒนาระบบและเงื่อนไขที่จะกลับมาขูดรีดพวกเขาเองให้มากกว่าเดิม 

กว่า 117 พันล้านชีวิตตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เราจะหยั่งถึงบุญคุณทั้งหมดที่เขาให้เราได้หรือ ?

เช่นนั้นแล้ว ทำไมเราจะยังกล้าอ้างว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นของๆเรา

“นี่คือเสื้อยืดของฉัน นี่คือโทรศัพท์ของฉัน นี่คือบ้านของฉัน” 

ช่างไร้เหตุผล,คับแคบ และ หยามเหยีดเป็นอย่างยิ่ง

พวกเราล้วน คือ ความว่างเปล่าหากปราศจากแรงงานล่องหนของคนอื่น 

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม

ใครกันที่ฆ่าไก่ให้ผมกิน 

ใครกันเป็นคนถักทอเสื้อตัวนี้ 

แล้วพวกเขาเหล่านั้นชื่ออะไร ? พวกเขาเป็นยังไงบ้างวันนี้ ? พวกเขาสบายดีไหม ? พวกเขากำลังมีความรักรึเปล่า ? 

ใช่อยู่ ที่คำถามนี้มันฟังดูบ้า แต่ศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายได้ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาปฏิสัมพันธ์บางอย่างต่อมนุษย์ล่องหน พูดให้ชัดก็คือ “ระหว่างมนุษย์ล่องหนด้วยกัน” พัฒนาการตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของกันและกัน ตระหนักถึงการที่พวกเราถูกกดขี่ และ พวกเราถูกบังคับให้กดขี่กันเองอย่างไร 

คุณเคยไปที่คลังเก็บอาหารตามร้านสรรพสินค้าไหม ? มันเป็นประสบการณ์น่าขนลุก เป็นตัวอย่างของ “สภาวะทางผ่าน” ที่ชัดเจน ลังไม้สูงเท่าภูเขาทะมึนถูกหุ้มด้วยพลาสติกสองชั้น มีกระดาษ A4 แผ่นเล็กๆ ติดเพื่อรายละเอียดสินค้าไว้ ช่างดูห่างไกลจากอาหารบนชั้นวางในห้างที่ดูอุดมสมบูรณ์ เหล่าอาหารล่องหนพวกนี้กำลังรอการปรากฏตัว เช่นเดียวกับเหล่ามนุษย์ล่องหนที่มีสถานะคล้ายกับผีวิญญานรอผู้พบเห็น 

คุณเคยพูดคุยกับคนขับ Grab บ้างไหม ?

หรือพนักงานที่นำสินค้าจาก Shopee มาส่งให้คุณ ?

หรือคุณป้าที่ทำก๋วยเตี๋ยวตรงจุดแวะพักระหว่างนั่งรถบัสทางไกล ? 

ไม่นานมานี้พวกเราได้ร่วมประชุมวงฝ่ายซ้าย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพ หลังคุยกันไปได้สักพักบทสนทนาก็นำมาสู่อารมณ์น่ากำหมัดของคำถามที่ว่า “เราจะคุยกับพวกเขายังไง ?” บอกจากใจจริงเลยว่าพวกเราค่อนข้างตกใจ “อะไรกันวะ ? พวกคุณไม่เคยคุยกับพวกเขาเรอะ ?” พวกเราคิดในใจ แต่ยังมีเรื่องที่น่าตกใจกว่านั้น นั่นคือสำนึกอันพิลึกพิสดารว่า พวกเราจะต้องคุยกับพวกเขา มันเป็นบทบาทของเราที่จะไปช่วยให้พวกกรรมาชีพตาสว่างถึงที่มาของความทุกข์ทรมานในชีวิตของพวกเขา พวกเราไม่สามารถแค่ไปถามพวกเขาว่า “วันนี้เป็นไงบ้าง?” หรือ “ทำงานที่นี่มานานแค่ไหนแล้ว?” หรือ “คุณชอบการทำงานที่นี่ไหม?”   ไม่.. พวกเราจะต้อง สอนพวกเขาเกี่ยวกับมาร์กซิสต์

การปฏิสัมพันธ์เป็นกระบวนการที่มีการ “ให้และรับ”

มันเริ่มต้นด้วยพื้นฐานง่ายๆ : “คุณเป็นยังไงบ้าง ?”

แม้ว่าคุณอาจไม่ได้เจอคนๆ นี้อีกเลยก็ตาม

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม 

ใครกันที่ฆ่าไก่ให้ผมกิน 

ใครกันเป็นคนถักทอเสื้อตัวนี้

แล้วพวกเขาเหล่านั้นชื่ออะไร ? พวกเขาเป็นยังไงบ้างวันนี้ ? พวกเขาสบายดีไหม ? พวกเขากำลังมีความรักรึเปล่า ? 

พวกเราอาจไม่ได้คำตอบของคำถามนี้ทั้งหมด แต่พวกเราสามารถเริ่มต้นได้ นี่คือโครงการสลายความล่องหน เพื่อจะโอบอุ้มผู้คนเหล่านั้น เพื่อโอบอุ้มพวกเราเอง ขึ้นมาจากความล่องหน ขึ้นไปสู่การปรากฏตัว การถูกมองเห็นได้ สิ่งสำคัญ คือ โครงการนี้ก็เหมือนโครงการร่วมมือกันทั้งหมด มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพวกเราทุกคนร่วมมือกัน 

อย่าหลงลืมแม้เพียงวูบเดียว ว่าคุณเองก็เป็นมนุษย์ทางผ่าน เป็นมนุษย์ล่องหน ทุ่มเทแรงงานของตนลงไปในความว่างเปล่า เป็นเพียงผู้โดยสารคนนึงในเบาะหลังแท็กซี่ เป็นแค่ลูกค้าคนหนึ่ง ในร้านอาหารที่แออัด เป็นแรงงานล่องหนขายแรงงานของตน คุณเองคือความว่างเปล่า วิธีเดียวที่คุณจะมีตัวตนในสายตาของคนอื่น วิธีที่จะออกจากสภาวะทางผ่านนั้น คือ เราต้องออกจากมันให้ได้ด้วยกัน

 

 

The Invisible People

The Invisible People

You consume invisible labour but the labour you sell is invisible too. We are detached and alienated from both our production and consumption. How can we begin to see labour through the haze of obfuscation?

Liminality

Liminal spaces are defined as “the physical spaces between one destination and the next.” Common examples of such spaces include hallways, airports, and streets. Deeming spaces as liminal has become a go-to critique of modern corporate architecture, it’s bland, it lacks character, it’s neither one place nor another, just something that one passes by. It lacks soul. The same critique is also often applied to corporate Memphis art style, the flat geometric people that litter corporate marketing. Again, it lacks soul. 

The critique is based on aesthetics. A mundane bland lack of interaction or intimacy. However, if we apply this concept to actual people we’re confronted by an uncomfortable truth. That the billions of people that build and maintain our world are themselves, liminal people. The invisible labour that keeps the engine of capital running. Those who stack the vegetables on the supermarket shelves overnight, the warehouse worker bringing the goods in at the crack of dawn, the dockworkers and sailors on the cargo ships with our precious supplies and the farm workers themselves often toiling away on distant soil far from their homes. This is the liminal labour, the liminal people, that allows for the ongoing spectacle of developed capitalist societies. Unseen by the apathetic eyes of consumers. 

Of course, the vast majority of this labour is rooted in the exploitation of the global south. The only interaction between those fellows who cut the hay and those who eat the beef is the occasional blurry glimpse they catch while backpacking across some former colonial backwater or while leafing through the pages of national geographic, perhaps occasionally one will wash up dead on their shores.

But here in the global south, where this kind of labour is semi-visible for the professional class, there is some kind of interaction, albeit mediated through the formalities of capital. Those Bangkok urbanites in their pristinely air-conditioned cars at least see the slums on a daily basis, if only from a distance

It seems the more advanced an economy the more labour is obfuscated from consumption. As you move through the GDP rankings workers go from being visible to opaque and then finally to entirely invisible. 

Who grew my rice?

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม Who grew my rice? 

ใครกันที่ฆ่าไก่ให้ผมกิน Who killed my chicken? 

ใครกันเป็นคนถักทอเสื้อตัวนี้ Who made my clothes? 

How was the rice?

Did you finish eating your chicken?

Are the clothes comfortable?

What was their name? How are they doing today? Are they ok? Are they in love?

What about their mother or their grandmother? Their invisible reproductive labour, hidden behind closed doors, helped to build this mystery liminal person to whom I owe so much. They too contributed to the chicken in my curry and the rice on my plate or the clothes on my back. Generations of invisible labour, extracted surplus, behind closed doors, be they at the home, the factory or the warehouse. 

I am built off of the back of their labour, as are you reader, an invisible person yourself. 

Invisible Ancestors

This historical invisible labour accounts for every material and intellectual facet of life that we depend on. Be that labour waged or unwaged. The streets of London are paved by the invisible labour of their colonies. The waterways of Thailand are dredged and sculpted by the invisible corvee labour of the phrai. The rice cooker, which steams my lunch, was perfected over a century by the invisible electrical engineers, who walked those paved streets carrying rice from those dredged waterways. Who taught them to use a spoon, to walk, to say their first word, to read, to socialise? 

The true crime, of course, is that the vast majority of that invisible labour has been in service of reproducing and advancing those conditions of further labour extraction. 

All of those lives, 117 billion lives in our history. How can we fathom our debt to them?

For that matter, how dare we claim anything as our own? 

“This is my t-shirt, this is my phone, this is my house.”

How absurd. How wildly naive. How incredibly insulting. 

We are nothing without the invisible labour of others.

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม Who grew my rice? 

ใครกันที่ฆ่าไก่ให้ผมกิน Who killed my chicken? 

ใครกันเป็นคนถักทอเสื้อตัวนี้ Who made my clothes?

What was their name? How are they doing today? Are they ok? Are they in love?

Of course, these are absurd questions, but the potential for any kind of meaningful change for the global proletariat is dependent on developing some kind of interaction with the invisible people, between the invisible people, developing some kind of consciousness of each other’s existence, our subjugation and how we are forced to subjugate one another. 

Have you ever been to a food warehouse? It’s an eerie experience, a liminal one even. Mountains of pallets, double wrapped in plastic, with a small A4 sheet denoting their contents, a far cry from the fecund supermarket shelves. The invisible food waits for its moment to become visible, and so too do the spectre of the invisible people.

Have you ever spoken to your grab driver? 

Or the guy who delivers your Shopee? 

Or the auntie who makes ก๋วยเตี๋ยว at one of those pre-determined bus stops on a long bus journey?

We joined a conference of left-wing activists recently, mainly from Bangkok. After a while the topic turned to the usual hand-wringing of “How do we talk to them?” We were honestly quite shocked… “What the fuck… You don’t talk to them?” We thought. But this isn’t what really shocked us, what shocked us most was their own assuredness that we had to talk to them, that it is our role to enlighten the working class on the nature of their suffering. We can’t just ask them how was their day, or how long have you worked here, or do you enjoy working here? No. We have to… Teach them about Marxism… 

Interaction is a two-way process. 

It begins with the basics: “How are you doing?” 

Even if you’re never going to meet that person again.

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม Who grew my rice? 

ใครกันที่ฆ่าไก่ให้ผมกิน Who killed my chicken? 

ใครกันเป็นคนถักทอเสื้อตัวนี้ Who made my clothes?

What was their name? How are they doing today? Are they ok? Are they in love?

Maybe we won’t get all the answers to those questions, but we can make a start. This is a project of de-liminisation. To bring those people, to bring ourselves, out of liminality and into visibility. The catch is, this project, like all collective projects, only works if we all do it together. Talk, engage, interact– socialism, maybe after that we can start to agitate, organise and educate. 

Don’t for a moment forget that you too are a liminal being, an invisible person, pouring your labour into the void. A passenger in the back of a taxi, another customer in a crowded restaurant, another invisible worker selling labour, alone you are nothing. The only way to make yourself visible is in the eyes of others. The only way we can escape this liminality is together. 

 

พวกมั้กซี้ดมันมีจริยธรรมกันบ้างไหม

พวกมั้กซี้ดมันมีจริยธรรมกันบ้างไหม

ต้นฉบับ : สหายS!nk

ข้อวิจารณ์ที่บอกว่า “พวกมาร์กซิสต์ไม่มีจริยธรรม” อาจฟังดูเป็นเรื่องแปลกหูสำหรับคนไทย เพราะดูเหมือนว่าคนที่จะมาเป็นมาร์กซิสต์นั้น คือ คนที่ให้ความสำคัญเรื่อง “ความเท่าเทียม-ความยุติธรรม-คุณค่าความเป็นคน” มากเป็นพิเศษ ถึงขนาดว่าต้องทุ่มเทมาศึกษาทฤษฎี ทำขบวนการจัดตั้ง ออกไปทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สังคมในอุดมคตินั้นเกิดขึ้น ในขณะที่คนที่วางตัวว่า “เป็นกลาง” น่าจะเป็นพวกไม่มีจริยธรรมที่สุดด้วยซ้ำ เพราะพยายามทำตัวลอยเหนือปัญหาต่างๆ 

ข้อวิจารณ์นี้มีที่มาจากการที่เมื่อไรที่มีการ “ปฏิวัติประชาชน” เพื่อล้มล้างการปกครองของคนส่วนน้อย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศรัสเซีย,จีน,เวียดนาม,คิวบา ฯลฯ ก็ล้วนแต่มีการนองเลือดทั้งนั้น ซึ่งทางฝั่งมาร์กซิสต์เองก็ไม่ได้ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในการได้มาซึ่งชัยชนะของประชาชน คาร์ล มาร์กซ์ เองก็เคยกล่าวไว้ว่า

 “We have no compassion and we ask no compassion from you. When our turn comes we shall not make excuses for the terror” 

(พวกเราจะไม่มีความเมตตา และ พวกเราจะไม่ร้องขอความเมตตาจากพวกคุณ (ชนชั้นปกครอง) เมื่อถึงทีของพวกเรา เราจะไม่หาข้ออ้างใดๆ มาอธิบายความน่ากลัวที่จะเกิดขึ้น)

จริงๆ แล้วไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการปฏิวัติแบบมาร์กซิสต์เท่านั้น การปฏิวัติฝรั่งเศส หรือ การปฏิวัติอเมริกา (เพื่อปลดแอกจากอังกฤษ) หรือ การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของประเทศอังกฤษที่บางคนเรียกว่าเป็น “การปฏิวัติไร้เลือด” ก็เป็นผลพวงจากการนองเลือดในสงครามกลางเมืองอังกฤษมา่ก่อน (1) เพราะเหตุใดจึงต้องมีการนองเลือด ? เป็นเพราะความแค้นของฝั่งประชาชนจากการถูกกดขี่มานาน หรือ เป็นเพราะความโรคจิตส่วนบุคคลของผู้นำการปฏิวัติงั้นหรือ ? จริงๆ คำตอบนั้นง่ายมาก เป็นเพราะไม่มีชนชั้นปกครองคนไหนที่จะยอมเสียผลประโยชน์มหาศาลที่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ให้กลับสู่การครอบครองของคนอื่น (ในที่นี้ “คนอื่น” ก็คือประชาชนคนส่วนใหญ่) 

ดังนั้นชนชั้นปกครองจึงต้องทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะบนดิน หรือ ใต้ดิน ถูกกฏหมาย หรือ ผิดกฏหมาย ถูกศีลธรรม หรือ ผิดศีลธรรม ให้ตัวเองมีชัยชนะเหนือฝ่ายประชาชน ในขณะเดียวกันถ้าฝ่ายประชาชน ยังให้ความสำคัญกับ “ศีลธรรมแบบปัจเจก” ของตัวเองเหนือกว่าความอยู่รอดของฝ่ายตน ก็ย่อมทำให้สถานะที่เสียเปรียบในทางอำนาจของตัวเองที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ต้องซ้ำร้ายตกต่ำลงไปอีก 

ถ้าหากเราศึกษาในประวัติศาสตร์กระแสหลัก เราก็จะพบว่ามีการระบุตัวเลขของ “ผู้เสียชีวิตจากคอมมิวนิสต์” โดยนับรวมสาเหตุจาก ผู้เสียชีวิตจากสงครามกลางเมืองในการปฏิวัติ,เสียชีวิตจากความขาดแคลน (Famine),เสียชีวิตในคุกนักโทษทางการเมือง ฯลฯ เอาไว้ว่ามากถึง 65 ล้านคน ซึ่งดูเป็นตัวเลขที่เยอะมาก ถือว่าเยอะกว่าผู้เสียชีวิตจากนาซีซะอีก แต่เราต้องไม่ลืมว่าตัวเลขพวกนี้ถูกอ้างอิงกันไปกันมาจากแหล่งข้อมูลของประเทศฝั่งโลกเสรี-ทุนนิยม ในช่วงสงครามเย็น ซึ่งมีความชัดเจนอยู่แล้วว่าถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยมีนัยนะทางการเมืองเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ 

ในขณะที่ตัวเลขจากฝั่ง “ผู้เสียชีวิตจากระบบทุนนิยม” กลับถูกพูดถึงน้อยมาก โดยจากข้อมูลในหนังสือ The Black Book of Capitalism (2) ที่พูดถึงจำนวนผู้เสียชีวิตจากระบบทุนนิยม (แค่เฉพาะศตวรรษที่ 20) โดยรวมเอาเหตุการณ์สงครามโลก 2 ครั้ง,การล่าอาณานิคม,แคมเปญปราบปรามและกวาดล้างคอมมิวนิสต์,สงครามจากความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ,เหยื่อจากความอดอยากและขาดสารอาหาร รวมๆแล้วมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ล้านคน และแน่นอนว่าตัวเลขก็จะต้องพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถ้าหากรวมเอาผู้เสียชีวิตจากการระบาดของโควิด ซึ่งถ้าอยู่ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นธรรมแล้ว ย่อมสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตไปได้อย่างมากแน่นอน 

ซึ่งผมเองมองว่าสาระสำคัญอาจไม่ได้อยู่ที่การระบุตัวเลขเหล่านี้ไปอย่างเฉพาะเจาะจง หากแต่เป็นการเข้าใจผ่านตรรกะในภาพรวมว่าการโจมตีคอมมิวนิสต์โดยถ่ายเดียวว่าเป็นระบบทางการเมืองที่ไร้จริยธรรม นิยมความรุนแรง เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองที่ไร้ซึ่งความเป็นกลางใดๆ และเราก็เห็นได้ผ่านประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาว่าระบบทุนนิยมนั่นแหละ ที่ชุ่มโชกไปด้วยเลือดตั้งแต่หัวยันปลายเท้า และไม่มีความชอบธรรมใดๆ จะมาชี้นิ้วด่าคนอื่นในเรื่องการมี “มนุษยธรรม” 

ถ้างั้นแล้วชาวคอมมิวนิสต์มองว่าการฆ่าคนเป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดจริยธรรมยังงั้นหรือ ? ก็ต้องบอกเลยว่าทั้ง “ใช่ และ ไม่” ทั้งนี้เราต้องกลับไปสำรวจ “ที่มาของจริยธรรม” ทั้งมวลในโลกก่อนจะกลับมาตอบคำถามนี้ ส่วนใหญ่แล้วที่มาของ “จริยธรรม” ในโลกนี้มักมีรากมาจากศาสนา จริยธรรมหลายข้อมักเป็นไปในกรอบคิดแบบ “สภาวะเหนือโลก” (Transcendent) กล่าว คือ “คุณไม่ควรทำสิ่งนี้ เพราะพระเจ้าบอกว่าไม่ควรทำ” ไม่ได้มีคำอธิบายในเชิงวัตถุวิสัยอะไรเพิ่มเติมว่ามันผิด หรือ ถูกเพราะอะไร ? แต่ใช้วิธีอ้างอิงอำนาจภายนอก (พระเจ้า,เทพ,ผี,บาปกรรม ฯลฯ)  ในการบังคับใช้กฏทางจริยธรรมนั้น ๆ ระบบศีลธรรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายรองรับ นอกจากนี้อีกนัยของความเป็น “Transcendent” คือ มันถูกบังคับใช้ข้ามผ่านกาลเวลา และ สถานที่ ดังนั้นมันจะ “จริงตลอดไป จริงทุกที่ จริงทุกเวลา”

แต่พอเอาเข้าจริงแล้วสถาบันศาสนา หรือ สถาบันทางการเมืองที่อ้างอิงอำนาจจากศาสนาที่ใช้ระบบจริยธรรมเหล่านี้ ก็ล้วนแต่มีข้ออ้างสำหรับการทำผิดจริยธรรมของตัวเองเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างศาสนาอับราฮามิคที่เกิดขึ้นมานับพันปี หรือ กรณี “พระวิระธู” ผู้นำขบวนการชาวพุทธหัวรุนแรงในการกวาดล้างชาวมุสลิม กรณี “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ของพระกิตติวุฑโฒ 

สำหรับผู้อ่านบทความนี้ซึ่งกำลังใช้ชีวิตอยู่ในโลกยุคโมเดิร์น คงไม่จำเป็นต้องขยายความถึงความหน้าไหว้หลังหลอกของสถาบันศาสนาไปมากกว่านี้ เพราะความหน้าไหว้หลังหลอกที่กำลังเป็นภัยคุกคามต่อแนวคิดผู้คนในยุคสมัยเราจริงๆ เป็นระบบจริยธรรมที่มาในรูปแบบของ จริยธรรมแบบเสรีนิยม-ทุนนิยม เสียมากกว่า 

ปัญหาของระบบจริยธรรมแบบเสรีนิยม แม้ว่าจะไม่ได้อ้างอิงความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งเหนือธรรมชาติ แต่ก็มีรากมาจากปัญหาระบบจริยธรรมแบบเดิม คือ ความเป็นสภาวะเหนือโลก (Transcendent) ที่การกระทำบางอย่าง ผิด หรือ ถูก ศีลธรรม “ในตัวมันเอง” โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาบริบทที่การกระทำนั้นๆ เกิดขึ้น เมื่อเราใช้จริยธรรมแบบนี้ ก็แปลว่าเราได้ละเลยกรอบคิดแบบ “วัตถุนิยมประวัติศาสตร์” ที่มองว่าไม่มีสิ่งใดเป็นอิสระพ้นไปจากบริบท (กาลเวลา-สถานที่) ของตัวมันเอง เราปฏิบัติต่อจริยธรรมราวกับว่ามันเป็นคำสั่งจากพระเจ้า นอกจากนี้มันแสดงให้เห็นว่าเราคำนึงถึง “ความเป็นคนดีแบบปัจเจกชน” มากกว่าภาพรวมของการปฏิวัติประชาชน

พวกเราชาวมาร์กซิสต์ไม่เชื่อในระบบจริยธรรมที่ข้ามพ้นกาลเวลาและสถานที่ 

ตัวอย่าง เช่น ในประเด็นเรื่องการเหยียดชาติพันธุ์ ถ้าหากเราถามพวกเสรีนิยม ว่าทำไมต้องต่อต้านการเหยียดชาติพันธุ์เขาก็อาจตอบว่า “ก็เพราะมันเป็นเรื่องผิด!” และพวกเขามักจะจริงจังกับการต่อต้านการเหยียดพวกนี้ในท่าทีเหมือนครูวิชาภาษาไทยดุเด็กนักเรียนที่พูดคำหยาบ “มันผิดก็เพราะมันผิดในตัวเอง!” สำหรับคนพวกนี้ระบบจริยธรรมไม่ได้เป็นเรื่องของสังคมเท่าใดนัก หากจะเป็นก็อาจเป็นเพียงผลพลอยได้ เพราะ ผลหลักที่พวกเขาหวัง คือ การได้แสดงออกว่าตัวเองมีศีลธรรมเหนือกว่าคนอื่นๆ (ในฐานะที่เป็นปัจเจก) แต่พวกเขาหาได้ใส่ใจในการจัดตั้ง หรือ เข้าไปมีส่วนร่วมต่อขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมแต่อย่างใด ซ้ำร้ายพวกเขาอาจมองว่า “การเหยียด” มาจากการ “ไม่ได้รับการศึกษา(แบบตะวันตก)” มากกว่าจะเป็นผลจากความขัดแย้งทางชนชั้น และ ลัทธิการล่าอาณานิคมอย่างยาวนาน  

ในขณะที่พวกเราชาวมาร์กซิสต์ เหตุผลที่เราไม่ควรเหยียดชาติพันธุ์นั่นก็เพราะ “ผลที่ตามมา” ก็คือ จะทำให้เกิดความแตกแยกระหว่าง “กรรมาชีพ” ด้วยกันที่อยู่คนละชาติพันธุ์ เช่นเดียวกันกับการเหยียดเพศ,เหยียดความพิการ และการเหยียดแบบอื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกต่อชนชั้นกรรมาชีพ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ใช่เพราะทำแล้วคุณจะเป็นบาป แต่เพราะมันไปเป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติประชาชน และการพูดคำเหยียด ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดจริยธรรมในตัวมันเอง เห็นได้จากการที่ในชุมชนคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา ก็ยังเรียกเพื่อนตัวเองว่า “ไอ้ดำ” ได้ โดยที่ไม่มีใครมีปัญหา (คนที่รู้สึกมีปัญหาอาจเป็นพวกคนขาวที่คลั่งศีลธรรมแบบปัจเจก แต่ก็ไม่กล้าเข้าไปห้ามเมื่อคนดำเรียกกันอย่างนั้น) 

อาจมีคนโต้แย้งขึ้นมาว่า “ก็เขาเป็นคนดำด้วยกันไง ก็เลยแซวกันว่าไอ้ดำได้” แต่ในบริบทบ้านเรา ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติสูง เราก็อาจเห็นคนเชื้อสายจีนที่ถูกเพื่อนเชื้อสายลาวเรียกว่า “ไอ้เจ๊ก” ก่อนที่เขาจะตะโกนกลับไปว่า “ไงวะ ไอ้ลาว” ซึ่งในหมู่คนที่สนิทกันคำเหล่านี้อาจไม่ได้ต่างกันไปมากกว่าการเรียกว่า “ไอ้เหี้ย! (ชื่อเล่น) ไปเซเว่นกับกูป่าว” ซึ่งถามว่าหยาบไหม ? แน่นอนว่าหยาบ แต่ทำไมกระทำได้ ?

ก็เพราะมันจะถูกจริยธรรม หรือไม่ มันไม่ได้อยู่ที่ตัวคำพูดอย่างเดียว แต่มันอยู่ที่ ”บริบท” ซึ่งบริบทในที่นี้ คือ บริบทของคนที่สนิทกัน และเมื่อเราเข้าใจตามนี้แล้วว่า บริบท หรือ สภาพทางวัตถุ (สถานที่-ผู้คน) รวมไปถึงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา (เวลา) เป็นตัวกำหนดความจริง หลักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์เองก็บอกกับเราว่าระบบจริยธรรมต่างๆ จะมีความชอบธรรมได้นั้น ล้วนมีที่มาจากมันช่วยเสริมย้ำอำนาจนำของชนชั้นปกครอง อย่างที่หลักเทวสิทธิ์รับรองสถานะของกษัตริย์ และ หลักสิทธิมนุษยชนสากล เป็นตัวสร้างความชอบธรรมในการเข้าไปแทรกแซง,จัดตั้ง หรือแม้แต่ทำสงครามล่าอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาและชาติมหาอำนาจอื่นๆ ระบบจริยธรรมไม่เคย “เป็นอิสระ” ไปจากอำนาจทางการเมือง และ อำนาจทางการเมืองที่ผ่านมาก็ถูกบงการโดย “ชนชั้นปกครอง” การเป็นผู้มีจริยธรรมแบบปัจเจก โดยไม่ข้องเกี่ยวกับผู้อื่นเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง จึงไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่า

 “การเล่นบทคนดี ในละครที่ชนชั้นปกครองเขียนบทขึ้น”

ดังนั้นในฐานะมาร์กซิสต์เราจำเป็นต้องปฏิเสธสันติวิธี,ความPC,สิทธิมนุษยชน.ความสุภาพ ไหม? ก็ต้องตอบว่า “ขึ้นอยู่กับบริบท” หรือถ้าถามอีกแง่ว่า เราจะต้องโอบรับคุณค่าเหล่านี้ทุกเวลา ทุกสถานที่ไหม ? ก็ต้องบอกว่า “ขึ้นอยู่กับบริบท” แต่สิ่งที่จะมาสร้างความชอบธรรมให้กับเรา คือ การที่เราต้องอธิบายให้ได้ว่าสิ่งที่เราจะพึงกระทำ เป็นการไปสนับสนุนให้เกิดการได้มาซึ่งอำนาจของฝั่งประชาชนหรือไม่ ? ถ้าหากคำตอบ คือ “ไม่”นั่นก็เป็นการกระทำที่ผิดต่อจริยธรรมแบบมาร์กซิสต์ แต่ถ้าคำตอบ คือ “ไม่แน่ใจ” ท่านก็ควรปรึกษากับสหายร่วมอุดมการณ์เพื่อพิจารณาถึงสภาพทางวัตถุและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของการกระทำนั้นๆ 

เราไม่อาจแน่ใจว่าการกระทำที่เราและสหายร่วมกันตัดสินใจทำไป ด้วยความรู้ความเข้าใจ ด้วยโอกาส ด้วยพลังที่เรามีในปัจจุบัน จะนำไปสู่ “เป้าหมาย” ที่เราตั้งใจไว้ได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยการที่เราพาตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับขบวนการที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าแค่ตัวเราคนเดียว มีการแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองที่มากไปกว่าตัวเราโดยปัจเจก ย่อมจะเป็นบันไดขั้นหนึ่งต่อการพัฒนาการทางองค์ความรู้การเมืองของมนุษยชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการหมกมุ่นในศีลธรรมแบบเหนือโลก หรือ พฤติกรรมส่วนตัวในกรอบคิดแบบปัจเจกนิยม อย่างแน่นอน

(1) https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9

 

(2) https://en.wikipedia.org/wiki/Le_Livre_noir_du_capitalisme

 

อภิสิทธิ์ชนแรงงานและผู้ทรยศชนชั้น

อภิสิทธิ์ชนแรงงานและผู้ทรยศชนชั้น

ในขณะที่กรรมาชีพทั่วโลกถูกระบบทุนนิยมกดขี่ขูดรีด ทว่าก็มีบางคนที่ถูกขูดรีดมากกว่าคนอื่น กรรมาชีพบางคนมีชีวิตที่สุขสบายโดยมาจากการขูดรีดคนงานคนอื่น นี่นำไปสู่แนวคิด อภิสิทธิ์ชนแรงงาน (Labour Aristocracy) หรือ ชนชั้นแรงงานอภิสิทธิ์ชน (Working Class Aristocracy) ซึ่งสามารถนำไปใช้ดูได้ทั้งสถานทำงานระดับท้องที่และระดับโลก เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างชนชั้นให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าเก่า

ถ้าเราให้คำนิยามกรรมาชีพอย่างเคร่ง ๆ ว่าเป็น “คนงาน” หรือเจาะจงมากขึ้นว่าเป็น “ผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต” คนที่รวยและมีอำนาจมาก ๆ ก็อาจเข้าข่ายคำนิยามดังกล่าวได้เช่นกัน เช่น นักฟุตบอล ในขณะที่นักฟุตบอลรวยล้นฟ้า พวกเขาก็ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งในกรณีนี้คือสโมสรฟุตบอล นักฟุตบอลถูกขูดรีดแรงงานแบบเดียวกันกับคนงานโรงงาน แต่นักฟุตบอลได้รับค่าชดเชยด้วยค่าแรงที่สูงกว่ามาก

ขณะที่นักฟุตบอลเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนมาก ทว่าก็มีตัวอย่างอื่น ๆ ที่เข้าข่ายคำนิยามดังกล่าว เช่น แพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนของกลุ่มชั้นนำหรือนายทหารระดับสูง แม้แต่ในสถานทำงานแบบปกติ ก็ยังมีผู้จัดการที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่ทำงาน แต่รักษาผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของสถานที่ภายในพื้นที่นั้น ๆ เช่น ผู้จัดการของเซเว่นอีเลเว่น (711) ที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ ปัจเจกเหล่านี้มักถูกมองว่าเป็น ผู้ทรยศชนชั้น (class traitors) หมายความว่า แม้ว่าพวกเขาจะเป็นกรรมาชีพ พวกเขากลับหันหลังให้กับชนชั้นตนเองเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่กระฎุมพี

สหภาพแรงงาน

คำว่าอภิสิทธิ์ชนแรงงานยังถูกนำไปใช้ในบริบทของสหภาพแรงงานเพื่อนิยามคำว่า “คนงานสหภาพแรงงานมืออาชีพ” นี่อาจหมายถึงหนึ่งในสองอย่างนี้:

  1. คนที่ทำงานเต็มเวลา (ได้รับเงินเดือน) ให้กับสหภาพแรงงาน มากกว่าที่จะทำงานในอุตสาหกรรมที่สหภาพเป็นตัวแทนโดยตรง ตัวอย่างเช่น HR (นักบริหารทรัพยากรบุคคล) ซึ่งทำงานเป็นตัวแทนให้กับสหภาพคนขับแท็กซี่ในนามของคนขับแท็กซี่ตัวจริง โดยทั่วไปแล้วกลุ่มเช่นนี้มักจะโดนวิจารณ์ว่า ไม่ได้เชื่อมโยงกับคนงานในพื้นที่จริง (real, on-the-ground) และพยายามปกป้องผลประโยชน์ในความสามารถทางวิชาชีพของตนแทนที่จะเป็นของคนงานส่วนมาก ลดทอนความเข้มข้นและสร้างข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวโดยสร้างชนชั้นผู้เชี่ยวชาญขนาดเล็กขึ้นมาเพื่อเจรจาต่อรองระหว่างผู้บังคับบัญชากับคนงาน โดยพื้นฐานแล้วจะอยู่ในบทบาทผู้จัดการธุรกิจ (ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้) ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผู้คนเคยใช้อาชีพนี้เป็นทางผ่านเพื่อเข้าไปสู่การเมืองแบบพรรคการเมืองและกลายมาเป็นชนชั้นปกครองในที่สุด สิ่งนี้เห็นได้จากพรรคแรงงานที่ผุดขึ้นมาเหมือนดอกเห็ดทั่วยุโรปทุกวันนี้

 

  1. สหภาพแรงงานของแรงงานมืออาชีพ คนงานเหล่านี้ก็คือคนที่จบสูงมา มีภูมิหลังแบบชนชั้นกลาง ตัวอย่างเช่น สหภาพแรงงานของนักการตลาดที่ศึกษาจบระดับมหาวิทยาลัย (คนที่ทำงานในการตลาด) โดยทั่วไปกลุ่มนี้มันจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า พยายามที่จะเสริมสร้างและยกระดับวิถีชีวิตแบบชนชั้นกลาง/มืออาชีพ เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองตกไปอยู่ในกลุ่มรายได้ต่ำ แทนที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงปลดปล่อยให้แก่คนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเอง สหภาพแรงงานประเภทนี้มักจะพยายามลดทอนการเคลื่อนไหวของคนงานหมู่มาก เนื่องจากพวกเขามีเงินเดือน สภาพการทำงาน และสิทธิพิเศษทางสังคมที่ดีกว่าอยู่แล้ว พวกเขาจึงไม่เต็มใจที่จะเสี่ยงตัวเองในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยคนงานในวงกว้าง

 

อภิสิทธิ์ชนแรงงานระดับนานาชาติ

ในขณะที่การตระหนักถึงอภิสิทธิ์ชนแรงงานในระดับท้องถิ่นนั้นทำได้ค่อนข้างง่าย การขยายความตระหนักรู้ไปสู่ระดับโลกนั้นซับซ้อนยิ่งกว่า แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญหากจะทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจทุนนิยมในภาพใหญ่ เห็นได้ชัดว่า คนงานในซีกโลกเหนือได้รับประโยชน์อย่างมากจากการขูดรีดแรงงานในซีกโลกใต้ สินค้าพื้นฐาน เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีของกรรมาชีพซีกโลกเหนือ ส่วนใหญ่ก็มาจากแรงงานที่ถูกกดขี่ขูดรีดในซีกโลกใต้ ในแง่นี้เราอาจกล่าวได้ว่า ผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงานในซีกโลกเหนือทุกวันนี้เป็นปฏิปักษ์กับผลประโยชน์ของแรงงานในซีกโลกใต้ และกรรมาชีพซีกโลกเหนือกำลังพึ่งพาการขูดรีดแรงงานในซีกโลกใต้อยู่

การเปรียบเทียบที่น่าสนใจคือเมียนมาร์และลักเซมเบิร์ก ซึ่งมี GDP ใกล้เคียงกัน เมียนมาร์ซึ่งเป็นประเทศขนาดปานกลางถึงใหญ่ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและกำลังแรงงานจำนวนมาก ถือว่าไม่ได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกที่สำคัญของพวกเขาเป็นวัตถุดิบ (ที่เป็นวัตถุจริง) ทั้งหมด ดังนั้นในระดับสากล เมียนมาร์อยู่ในระดับเดียวกับลักเซมเบิร์กในแง่ของ GDP แม้ว่าลักเซมเบิร์กจะมีประชากรเพียง 1% ของเมียนมาร์และ 0.3% ของที่ดินทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในระดับบุคคล พลเมืองโดยเฉลี่ยในเมียนมาร์ถือครองเพียง 1% ของความมั่งคั่งของชาวลักเซมเบิร์กโดยเฉลี่ย (GDP ต่อหัว) หากเป็นเช่นนี้ การจะให้แรงงานรายจ้างจากสองประเทศนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกันจึงเป็นเรื่องที่เหลวไหลอย่างชัดเจน การเปรียบเทียบแบบนี้ไม่ได้หมายความว่า ชนชั้นแรงงานท้องถิ่นในลักเซมเบิร์กไม่ใช่ชนชั้นแรงงาน แต่ทำให้เห็นถึงความคลุมเครือของความเป็นจริงทางวัตถุในระดับโลกและความเหลื่อมล้ำในการผลิตแบบอวัตถุ หากจะกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมกันในแต่ละประเทศหรือในกรอบเศรษฐกิจระดับภูมิภาค แม้ว่าจะมีการปรับปรุงภายในประเทศบ้าง ก็ย่อมยังมีความแตกแยกทั่วโลกอย่างมหึมานี้

ในบริบทนี้ เราก็จะเห็นได้ว่า เมื่อมองจากจุดยืนโลก กรรมาชีพของลักเซมเบิร์กจัดอยู่ในหมวดหมู่ของอภิสิทธิ์ชนแรงงาน

นอกจากนี้ยังมีเรื่องตลกร้ายที่ชนชั้นแรงงานชาวซีกโลกเหนือในปัจจุบันได้สร้างแนวหน้าระดับโลกให้กับชนชั้นนายทุน กล่าวคือ ด้วยอำนาจในการเลือกตั้งของพวกเขา ในระบอบประชาธิปไตย พวกเขาได้ทำการลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองที่ลงมือทำให้จักรวรรดิของพวกเขาแผ่ขยายไปทั่วโลก จัดการรัฐประหาร พลิกกลับการปฏิวัติ และการรุกรานของประเทศในซีกโลกใต้ใด ๆ ที่พยายามหลุดพ้นจากห่วงโซ่อุปทานที่ถูกขูดรีดโดยประเทศโลกที่หนึ่ง (ในแง่นี้ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน จึงไม่ได้เป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้กับชนชั้นแรงงานโดยรวมในโลกแต่อย่างใด แต่เป็นการเอื้อประโยชน์กับพลเมืองของรัฐ ๆ นั้นเท่านั้น เพราะการทำให้พลเมืองในประเทศ— ไม่ว่าจะชนชั้นนายทุนหรือแรงงาน— นั้นได้รับผลประโยชน์มากเท่าใด ก็ย่อมต้องขูดรีดเอาผลผลิตส่วนเกินจากประเทศหรือรัฐอื่นมากเท่านั้น เกมนี้จึงอาจกลายเป็นสัจธรรมในเศรษฐกิจการเมืองระดับโลกไปแล้ว)

นี่ไม่ได้เป็นการยกย่องผู้ที่อยู่ในซีกโลกใต้ว่าเป็นชนชั้นแรงงานที่บริสุทธิ์เพียงฝ่ายเดียวของโลก และไม่ได้หมายความว่าแรงงานชาวซีกโลกเหนือเป็นชนชั้นนายทุนน้อย ทุกวันนี้ชนชั้นแรงงานชาวซีกโลกเหนือยังคงเป็นชนชั้นแรงงานอย่างแท้จริง

ประเทศในซีกโลกใต้แน่นอนว่าก็มีเจ้าของกิจการเช่นกัน ที่สามารถยึดอำนาจทางการเมือง และกลไกการเอารัดเอาเปรียบและขูดรีดในระดับท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมองกลับไป ก็เป็นที่ชัดเจนว่ากลไกเหล่านี้ทำงานให้ใครในท้ายที่สุด และใครนั่งอยู่บนโครงสร้างระดับโลก

สำหรับซีกโลกใต้ เราอาจเสนอว่า สิ่งสำคัญไม่ได้มีเพียงแค่การคำนึงถึงการยึดปัจจัยการผลิตในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงระดับนานาชาติด้วย และสิ่งสำคัญก็รวมไปถึงการครุ่นคิดว่าจะทำลายการผูกขาดของซีกโลกเหนือในด้านเศรษฐกิจ ความรู้ เทคโนโลยี และปัจจัยการผลิตในทางเทคนิคได้อย่างไรบ้าง

ต่อสู้กับอภิสิทธิ์ชนแรงงาน

ในบริบททั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายความว่า อภิสิทธิ์ชนแรงงานจะอยู่ด้านตรงข้ามกับกรรมาชีพหรือฝ่ายซ้ายเสมอไป ในหลายกรณี เหล่านี้ก็เป็นผลลัพธ์อันโชคร้ายของการที่คนงานพยายามที่จะจัดตั้งภายใต้ระบบทุนนิยม แท้จริงแล้วบ่อยครั้งอภิสิทธิ์ชนแรงงานไม่ได้ตระหนักว่า พวกเขาเป็นอภิสิทธิ์ชน อาจเป็นไปได้ว่า จากมุมมองของพวกเขาแล้ว พวกเขากำลังกระทำเพื่อผลประโยชน์ของคนงาน อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องควรค่าแก่การพินิจพิเคราะห์ด้วยความสามารถทั้งหมดที่เรามีว่า การกระทำของสหภาพแรงงานเป็นประโยชน์ต่อคนงานในวงกว้างหรือคนเพียงหยิบมือที่เป็นอภิสิทธิ์ชนแรงงาน

 

จับม็อบก็ไม่ใช่ รอเลือกตั้งก็ไม่โดน เราควรทำยังไงกันดี? 

จับม็อบก็ไม่ใช่ รอเลือกตั้งก็ไม่โดน เราควรทำยังไงกันดี? 

ต้นฉบับ : สหายS!nk

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ขั้นแรกเลยผมอยากจะบอกก่อนว่า จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อสั่งสอนว่าใครควรจะทำอะไร แต่ว่าเป็นการเสนอความคิดรวมไปถึงการทบทวนความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น สุดท้ายแล้วไม่ว่าท่านจะตัดสินใจกระทำการอะไร ถ้าหากเป็นไปเพื่อประชาธิปไตยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เราก็คือ สหาย กัน 

ในปัจจุบันฝ่ายมวลชนฝั่งประชาธิปไตย มีความขัดแย้งกันจนเป็นปรากฏการณ์กึ่งด่า กึ่งดีเบท กันในโลกออนไลน์ในประเด็นที่ว่า “อะไรเป็นสิ่งที่เราควรจะทำในตอนนี้?” สืบเนื่องมาจากกระแสการทำม็อบที่ซบเซาลง แม้จะจัดการเดินขบวน ตั้งเวที ชูป้าย ศิลปะแสดงสดหรือ performance arts ฯลฯ 

แต่ผลที่ตามมา เหล่าแกนนำกลับโดนจับ มีคดีติดตัวกันมากมาย ทางคฝ. เองก็ยังสามารถเบิกงบประมาณมาปราบม็อบได้ตลอดทั้งปีไม่มีหมด สามารถสลับทั้งตำรวจและทหารมาปราบปรามได้ 

เหตุการณ์นี้พิสูจน์แล้วว่าม็อบที่ไม่มีเส้น เหมือน ม็อบพันธมิตร กปปส. ไม่มีกองทัพ ไม่มีกลไกรัฐ ไม่มีวังหนุนหลัง ชุมนุมให้ตายยังไงก็โค่นรัฐบาลไม่ได้ แถมโดนสลายได้ง่ายเหมือนแกะถุงขนมอีก

 (1)

ประกอบกับที่ช่วงเวลานี้ก็ใกล้การเลือกตั้งเข้าทุกทีแล้ว ทำให้มวลชนที่สิ้นหวังกับการทำม็อบ หันไปหวังพึ่งพาการเลือกตั้งแทน เพราะเห็นว่าการเลือกตั้งสามารถเปลี่ยนตัวผู้บริหารได้จริง แต่การรอเลือกตั้งก็ใช่ว่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องซะทีเดียว ทีนี้เรามาดูความเห็นของฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับการรอเลือกตั้งบ้าง พวกเขาเสนอว่า…

“เลือกตั้งไปแล้วก็ไม่ชนะ เพราะอีกฝ่ายคุมเกมหมด องค์กรอิสระเป็นของมัน ศาลเป็นของมัน กกต. ก็พวกมัน กติกาก็เข้าข้างมัน ต่อให้ชนะเลือกตั้งก็เป็นรัฐบาลไม่ได้ แพ้อยู่ดี”

นอกจากนี้จากกระแสของม็อบช่วงปี 63-64 ก็ทำให้หลายคนตาสว่างเกินกว่าจะกลับไปรอให้พรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง มาช่วยปลดแอกประเทศไทย เนื่องจากพวกเขาได้รู้แล้วว่าปัญหาแท้จริงของการเมืองไทยนั้น ไม่ได้มาจากการที่แค่ “พวกทหารมันไม่รู้เรื่องการบริหาร ก็เลยบริหารประเทศได้ห่วย เราแค่ต้องเอาคนเก่ง คนดี มาปกครอง” เพราะปัญหาที่แท้จริงก็ คือ ปัญหาระดับโครงสร้างที่โยงใยไปถึงแกนหลักของการเมืองการปกครองไทย นั่นคือสถาบันกษัตริย์ การที่ศาล ทหาร ตำรวจ กลไกรัฐ ออกมากระทำการใดๆ เพื่อขัดขวางประชาธิปไตยก็เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสถาบันกษัตริย์ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่เรื่องความเก่งกาจของผู้บริหาร เปรียบเสมือนต่อให้ มาร์ก มาร์เกซ ขี่จักรยานเก่าๆ มาแข่งในงาน Motogp ในขณะที่ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นขี่มอเตอร์ไซค์ ความเก่งกาจของ มาร์ก มาร์เกซ ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้  

ทั้งนี้ผมไม่ได้จะบอกว่าที่ผ่านมาการจัดม๊อบปี 63-64 เป็นเรื่องล้มเหลว กลับกันผมมองว่าถ้าหากมาหักลบผลได้ผลเสียแล้ว มันนับว่าเป็นความสำเร็จเสียด้วยซ้ำ ถ้าหากเราย้อนกลับไปดูสมัยก่อนการมีม็อบ 63-64 การพูดคุยในประเด็นสถาบันกษัตริย์นั้นเป็นเรื่องต้องห้าม แม้เป็นการคุยเล่นกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัว แต่ในปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีผู้ถูกเอาผิดจากกฏหมาย 112 อยู่ แต่บรรยากาศบทสนทนาในภาคประชาชนได้ไปไกลกว่าเดิมมาก จริงอยู่ที่ว่าลำพังแค่การตาสว่างมันไม่เพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง แต่ปัญหาทุกปัญหาจะพึงแก้ล้วนแต่ต้องเริ่มด้วยการตระหนักรู้ว่ามีปัญหาก่อน และ ยิ่งมีจำนวนคนที่ตระหนักรู้ว่ามีปัญหามากก็ย่อมมีความคิดและกำลังคนสำหรับการจัดการกับปัญหานั้นๆ มากขึ้นไปด้วย การตระหนักรู้ปัญหาก็เหมือนกับเป็นการหว่านเมล็ดลงดิน ซึ่งเป็นเพียงจุดเริ่มต้น และ ยังต้องมีกระบวนการอื่นๆ ตามมาอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นประชาธิปไตยไทยได้เติบโตขึ้น 

แม้ว่าจะมีความขัดแย้งระหว่างสองความคิดนี้ แต่ผมว่าก็ยังมีส่วนที่ทั้งสองแนวคิดสามารถร่วมมือกันทำได้โดยไม่ได้ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย นั่นคือ ารสร้างรากฐานอำนาจกันตั้งแต่วันนี้ ตัวอย่าง เช่น ทำกลุ่มศึกษา เข้าร่วมสหภาพแรงงาน รวมตัวจัดตั้งชุมชน สร้างเครือข่าย ฯลฯ ถ้ามีโอกาสเข้าร่วมได้ก็เข้า ถ้าไม่มีก็จัดตั้งสาขาขึ้น เริ่มจากเล็กๆ ก่อนก็ยังดี 

เพราะการสร้างรากฐานอำนาจนั้นเป็นวิธีการที่แม้จะเห็นผลได้ช้า แต่มีความยั่งยืนต่อประชาธิปไตยในระยะยาว นับว่าเป็นโอกาสที่ดีแล้วที่ปัจจุบันมีคนตาสว่างเพิ่มขึ้นกันมาก แต่เราต้องไม่ลืมว่า ในโลกยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารไหลผ่านสายตาของเราอย่างถล่มทลาย การต่อสู้กับงานและการเรียนในชีวิตแต่ละวัน สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และกดดัน อาจทำให้แสงสว่างในดวงตาของเรานั้น ถูกทับถมและหลงลืมไปได้ในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตใจที่ยังมีไฟต่อสู้เพื่อให้ปากท้องขอตัวเองและเพื่อนร่วมชาติดีขึ้น 

การทำกลุ่มศึกษา-รวมตัวจัดตั้ง-สร้างเครือข่าย จะช่วยให้เราได้พบปะกับผู้คนที่มีพลังใจดังกล่าวเหมือนกันเรา ช่วยให้เราได้ไอเดียและมุมมองใหม่ๆ ในการทำความเข้าใจปัญหาทางการเมือง ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวสิ้นหวัง ทำให้มวลชนฝั่งประชาธิปไตยมีความเป็นปึกแผ่น มีอำนาจต่อรองมากขึ้น เช่น ถ้าจะจัดกิจกรรมนัดหยุดงาน ถ้าหากว่าเป็นการกระทำโดยพร้อมเพรียง ย่อมมีพลังกว่าการกระทำโดยปัจเจกหรือกลุ่มที่มีมวลชนเล็กน้อย

นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าว ยังช่วยให้ไม่หลงลืมความรู้ความเข้าใจของเราที่มีระบบการเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะถ้าหากเราหลงลืมสิ่งเหล่านั้นแล้ว เราก็จะถดถอยไปอยู่กับวิธีการเดิมๆ ที่สังคมและตัวเราเคยชิน หรือไม่ก็ถดถอยไปสู่ความซึมเศร้าและสิ้นหวัง 

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าสถานการณ์ที่เราชาวไทยกำลังเผชิญอยู่นี้เรียกได้ว่าเป็น Interregnum คือ สภาวะที่ สิ่งเก่าตายแล้ว แต่สิ่งใหม่ยังไม่เกิด สัญลักษณ์ของศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติไม่ได้ตายไปพร้อมกับร่างของใครบางคน แต่ค่อยๆ ตายลงไปนับตั้งแต่การรัฐประหารปี 49 หรือการสังหารหมู่คนเสื้อแดงปี 53 เป็นต้นมา

ไม่มีประเทศใดจะอยู่ได้โดยไม่มีความเป็นชุมชนจินตกรรมหรือคุณค่าที่คนในประเทศให้ไว้ร่วมกัน ในขณะนี้นับว่าเป็นห้วงเวลาที่สมควร ที่เราจะสถาปนาให้คุณค่าของความเป็นชาติเรา คือ การร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้กับระบบเผด็จการที่ครั้งหนึ่งเคยสถาปนาว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวแห่งประเทศเรา 

ในการทำกิจกรรมดังกล่าวนี้ สามารถทำควบคู่กันไปได้ทั้งสำหรับคนที่เห็นด้วยกับการทำม็อบ และ คนที่อยากรอเลือกตั้ง เพราะการสร้างฐานอำนาจของประชาชน ไม่ได้ไปสกัดขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้งหรือทำให้การจัดม็อบทำไม่ได้ 

แน่นอนว่าถ้าหากดูในรายละเอียด ก็เข้าใจได้ว่าทำไมจะมีการขัดแย้งกันเพราะว่าทางฝั่งคนที่ต้องการทำม็อบก็จะมองว่า แนวคิด “การรอเลือกตั้ง” ก็จะทำให้คนมาม็อบน้อยลง แต่ในส่วนของคนรอเลือกตั้ง อันนี้ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าจะต้องไปโจมตีคนทำม็อบทำไม ในเมื่อพวกเขาไม่ได้ใช้วิธีการยกพวกไปปิดคูหาเลือกตั้งแบบที่ม็อบกปปส.ทำ อาจเป็นได้ว่ากลุ่มที่ “เสียงดัง” ในฝั่งของคนรอเลือกตั้ง อาจมีจุดประสงค์จริงๆ อยู่ที่การสนับสนุนพรรคการเมืองที่ตัวเองชอบ มากกว่าการรักษาเอกภาพของฝ่ายประชาธิปไตยก็เป็นได้ 

ซึ่งการที่ใครสักคนจะชอบพรรคการเมืองไหนเป็นพิเศษย่อมเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ถ้าหากจะพูดถึงในระดับมหภาคเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคมแล้ว การจะอ้างเอา Free Speech โดยปัจเจก มาให้ความชอบธรรมตัวเองในการสร้างความแตกแยกในฝ่ายประชาธิปไตย ผมว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร

ดังนั้นปัญหาเรื่องนี้มันเลยย้อนกลับไปที่การทำ กลุ่มศึกษา-รวมตัวจัดตั้ง-สร้างเครือข่าย เพราะ

  1. กลุ่มศึกษา จะช่วยยกระดับการโต้เถียงให้มีความลึกซึ้งมากขึ้น บทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎี เหตุผล ความเข้าใจ มากกว่าอารมณ์ของการบูชาตัวบุคคล หรือ เอาอารมณ์ของตนเองเป็นใหญ่ นอกจากนี้อาจทำให้เห็นทางออกร่วม ที่มีมากกว่าทางออก A และทางออก B ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

  1. การรวมตัวจัดตั้ง จะช่วยเพิ่มจำนวนมวลชน คนที่มีความรู้ความเข้าใจไปในทิศทางใกล้เคียงกัน เป็นการได้ประยุกต์เอาภาคทฤษฎีล้วนๆ ที่ได้จากกลุ่มศึกษานำมาย่อยให้เข้าใจง่าย เข้าถึงมวลชนได้ในภาคปฏิบัติ นอกจากนี้การจัดตั้งหลายครั้งยังต้องอาศัยการลงพื้นที่ ซึ่งทำให้ได้สัมผัสกับชีวิตของผู้คนที่มาจากหลากหลายตำแหน่งแห่งที่ทางสังคม

 

  1. การสร้างเครือข่าย จะช่วยเพิ่มความเป็นมิตรต่อกันมากขึ้น หลายครั้งพื้นที่ในโลกออนไลน์ก็ไม่ได้อำนวยให้เกิดบทสนทนาที่เป็นประโยชน์ ผู้คนไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวเองในการแสดงความเห็น หรือ คำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการสนทนาเทียบเท่ากับบทสนทนาที่เกิดขึ้นในโลกออฟไลน์ การได้มาพบปะผู้คนจริงๆ ใช้เวลาร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ก็จะช่วยให้เกิดความเป็นมิตรต่อคนที่เห็นต่างกันมากขึ้น เราจะเห็นคนที่คิดต่างเป็นมนุษย์มากขึ้น ต่างกันกับโลกออนไลน์ที่เรามักจะมองเป็นกลุ่มก้อนความคิดเห็นต่างที่เป็นศัตรู

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ฝ่ายประชาธิปไตยหลายคนนำเอาความเกลียดชัง ความแค้นเคือง ที่ถูกกระทำต่อระบบไปเกรี้ยวกราดใส่สามัญชนคนธรรมดาด้วยกันในโลกออนไลน์มากเสียยิ่งกว่านำไปเกรี้ยวกราดใส่ชนชั้นปกครอง ผู้กดขี่มีอำนาจ 

ซึ่งในสามส่วนนี้ ไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องทำทั้งหมดในตัวคนคนเดียว ผมเสนอว่าใครที่ถนัดอะไรในสามอย่างนี้ ก็ทำไปเพราะแต่ละคนย่อมมีความถนัด,ความสนใจ,ความสะดวก แตกต่างกันไป หลายครั้งผมสังเกตว่าความขัดแย้งเกิดจากที่ กลุ่มนึงไม่เข้าใจว่าอีกกลุ่มนึง ทำกิจกรรมนั้นๆ ไปทำไม ทำไมไม่ทำแบบที่กลุ่มตัวเองทำ แม้เราจะเคยได้ยินโควท “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” กันมาแล้ว แต่ยังขาดในภาคปฏิบัติการซึ่งก็ คือ การสร้างเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างกลุ่มที่มีความถนัดแตกต่างกัน 

ปัญหาเหล่านี้ผมไม่โทษว่าเป็นความผิดของผู้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มองว่าเป็นผลมาจากการที่มนุษย์เรายังปรับตัวตามไม่ทันเทคโนโลยีการสื่อสารมากกว่า กล่าวคือ การเห็นต่างในสังคมเป็นเรื่องที่ปกติอยู่แล้ว คนที่ไม่คิดก่อนพูด หรือ ชอบสร้างความแตกแยกก็ใช่ว่าจะไม่เคยมี เมื่อก่อนเราจะสรุปว่าความเห็นใดเป็นตัวแทนของกลุ่มแนวคิดนั้นๆ จะทราบได้จากการที่โฆษก หรือ หัวหน้าของกลุ่มนั้นๆ ออกแถลงการณ์ เราไม่อาจรู้ได้ว่าแถลงการณ์นั้นๆ เป็นไปโดยมติประชาธิปไตยภายใน 100% หรือไม่ แต่อย่างน้อยแถลงการณ์นั้นๆ ก็ผ่านการไตร่ตรองมาประมาณนึงแล้ว 

แต่เมื่อเกิดโซเชียลมีเดียขึ้น ผู้ที่เป็นโฆษกในภาคปฏิบัติ ของกลุ่มแนวคิดแต่ละกลุ่มไม่ใช่ผู้ได้รับการแต่งตั้ง-เลือกตั้ง-ไตร่ตรอง ให้ออมาแสดงความเห็น แต่ระบบอัลกอริทึมจะจัดให้ความเห็นที่มีคนรีแอคชั่นมากที่สุด ได้รับความสำคัญและโผล่ขึ้นในหน้าฟีดมากเป็นพิเศษ ซึ่งก็เป็นอย่างที่เราเห็น ก็คือส่วนใหญ่ของโพสต์-คอมเมนท์ ที่ได้รับความสำคัญเหล่านี้ มักจะเป็นความเห็นที่มีลักษณะรุนแรง โผงผาง เสียดสี โดนใจวัยโจ๋ กลับกลายเป็นคนเหล่านี้ที่ได้รับสปอตไลท์และกลายเป็นภาพตัวแทนของกลุ่มแนวคิดนั้นๆ ไปโดยปริยาย ยิ่งมาประกอบกับการสร้างเครือข่ายที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว ก็ยิ่งเป็นการเสริมย้ำให้เกิดความแตกแยก ทะเลาะเบาะแว้ง ที่ไปไกลกว่าแค่การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจไปมากโข 

ซึ่งในประเทศเราเองที่การมีเสรีภาพในการพูดเป็นสิ่งที่โดนกดมาแสนนาน เมื่อได้รับการคลายผนึกด้วยโซเชียลมีเดียก็ย่อมเป็นการยากที่จะห้ามปรามให้หันมามองเห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม-เอกภาพของฝ่ายประชาธิปไตย มีความสำคัญเหนือความต้องการที่จะระบายอารมณ์ส่วนตน แม้กระทั่งความเข้าใจว่า “แม้เราจะใช้แอคเคาท์ส่วนตัวในโลกออนไลน์ แต่เมื่อได้โพสต์ออกไปแล้ว ก็เป็นการกระทำสู่สาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม” 

ดังนั้นปัญหาเรื่องนี้จึงไม่ใช่ปัญหาเชิงจริยธรรมส่วนบุคคล หากแต่เป็นปัญหาทางสังคม ที่พวกเราต้องคิดค้นเครื่องมือในการแก้มัน เหมือนที่จิลล์ เดอเลิซเคยกล่าวไว้ว่า “ไม่จำเป็นต้องกลัวหรือหวังไปหรอก เราแค่ต้องมองหาเครื่องมือใหม่เท่านั้น” (There’s no need to fear or hope, but only to look for new weapons.)

โดยสรุปแล้ว ใจความที่ผมต้องการจะสื่อในบทความนี้ก็ คือ มันไม่ใช่เรื่องผิดที่เราจะเลือกกระทำการเมืองในแบบที่เราถนัด แต่เราต้องไม่ลืม

1.การสร้างฐานอำนาจในระยะยาว เพราะแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน และ ปัจเจกบุคคลไม่สามารถจะกระทำการทุกอย่างเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองได้ เพราะเช่นนั้น เราจึงจำเป็นต้องช่วยเหลือแลกเปลี่ยนกันผ่านเครือข่าย 

2.คิดค้นเครื่องมือใหม่เพื่อมาจัดการปัญหาของความขาดเอกภาพในฝ่ายประชาธิปไตย 

credits:

  1. ถอดความมาจากโพสต์ของ บอล ภาคิไนย์