งานแปล
ยุทธศาสตร์การปฏิวัติ
ยุทธศาสตร์ 11 ข้อดังต่อไปนี้ เป็นการสรุปสั้นๆ ยุทธศาสตร์การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในประวัติศาสตร์โลกตามการจำแนกในคู่มือ หมวดหมู่นโยบายทางทหารการปฏิวัติ (Categories of Revolutionary Military Policy) เขียนโดย T. Derbent สหายคอมมิวนิสต์สายยุทธศาสตร์การทหารจากประเทศเบลเยี่ยม
11 ข้อนี้ ไม่ใช่สูตรหลักที่เราต้องหยิบไปใช้อย่างตายตัว (ต้องคำนึงถึงและปรับใช้ตามวัตถุสภาพในประเทศไทย) หากแต่เป็นการสรุปความเป็นไปได้ต่างๆ ทางการปลดแอกทางการเมืองที่เกิดขึ้นแล้วทั่วโลกเพื่อการเรียนรู้และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ทางทหารใหม่ๆ ให้กับท่านผู้อ่าน ซึ่งไม่แน่ว่าสักวันหนึ่งการปฏิวัติประชาชนในประเทศไทยที่มีแผนยุทธศาสตร์แบบฉบับของเราเอง จะกลายเป็นข้อ 12 เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างให้สหายและผู้ถูกกดขี่ในสมรภูมิอื่นได้ศึกษากันต่อไป
Sindhiyani Tehreek: สตรีนิยมปฏิวัติใน Sindh?
ภายใต้สังคมศักดินาและปิตาธิปไตยที่ชายเป็นใหญ่ครองเมือง ที่ที่เกียรติยศยังคงได้มาจากการสังหารฆ่าฟัน ที่ที่อัตราการอ่านออกเขียนได้ในแถบชนบทนั้นแทบไม่ถึงหนึ่งในสี่ ความรุนแรงในครอบครัวไม่แม้แต่จะถูกจดจารลงบันทึกประจำวัน แล้วหญิงสาวชาวชนบทเหล่านี้สามารถนำการต่อต้านขัดขืนระบอบเผด็จการอันป่าเถื่อนที่สุดของปากีสถานได้อย่างไร? สิ่งไหนจะเป็นบทเรียนให้กับขบวนการสตรีนิยมปากีสถานที่ลุกขึ้นมาสู้ในสมัยนี้ได้บ้าง? ที่จริงแล้ว เราสามารถเรียก Sindhiyani Tehreek ว่า ‘สตรีนิยม’ ได้หรือไม่? นี่คือบางคำถามที่ผมหวังจะหาคำตอบให้ได้
ค่าแรงในฐานะการต่อต้านงานบ้าน
พวกเขาพูดว่ามันคือความรัก แต่พวกเราจะบอกว่ามันคืองานที่ไร้ค่าแรง
ในหลายครั้ง ความยากลำบากและความสับสนที่บรรดาผู้หญิงแสดงออกมาระหว่างการถกเถียงเรื่องค่าแรงสำหรับงานบ้านเกิดขึ้นมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเธอลดทอนค่าแรงให้กลายเป็นแค่เพียงสิ่งของ เงินตรา แทนที่จะมองค่าแรงในฐานะมุมมองทางการเมืองแบบหนึ่ง ความแตกต่างระหว่างจุดยืนทั้งสองนี้แตกต่างกันมหาศาล ในการมองค่าแรงเป็นแค่เพียงสิ่งของคือการถอดถอนจุดหมายของการต่อสู้จากการเป็นการต่อสู้ในตัวมันเองและละเลยความสำคัญของมันในฐานะกระบวนการสลายตำนานและพลิกกลับบทบาทหน้าที่ซึ่งผู้หญิงถูกกำหนดในสังคมทุนนิยม
นิเวศวิทยาแห่งการปลดแอก: ขบวนการ Mukti Bahini, แม่น้ำ และการคลี่คลายตัวของปัญหาปากีสถาน
เรื่องเล่ากระแสหลักเกี่ยวกับสงครามปี 1971 แทบไม่ให้ความสนใจบทบาทของนิเวศวิทยาและความรู้เหล่านี้ของชาวนาในการสร้างชาติบังคลาเทศเลย ชาวนาใช้ยุทธภูมินิเวศวิทยา (ecological landscape) ที่พวกเขารู้และรักเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้เพื่อการปลดแอก ความรู้กระแสรองของชาวนาสามัญนี่แหละที่ช่วยปลดปล่อยบังคลาเทศ มากว่าความรู้ของชนชั้นนำหรือพวกกระฎุมพีเสียอีก
ปืนใหญ่ทั้งปวงจะขึ้นสนิมอย่างเงียบงัน: จดหมายข่าว 50 วินาที (2020)
ปีนี้ [2020] ของเรามืดหม่นเนื่องด้วยโรคระบาดระดับโลก (pandemic) เจ้าไวรัสแพร่กระจายทำให้สังคมทั่วทั้งโลกเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว รัฐบาลบางแห่งมีมาตรการที่ชาญฉลาด มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ และมีมนุษยธรรมมากกว่าที่อื่นในการตอบสนองต่อการระบาดครั้งนี้ หลายที่ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) เป็นรัฐบาลที่บริหารงานด้วยคุณค่าแบบสังคมนิยม หนึ่งในนั้นคือรัฐเกรละของอินเดียซึ่งตั้งอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ประกอบไปด้วยประชากร 35 ล้านคน และปกครองโดยพรรคแนวหน้าประชาธิปไตยฝ่ายซ้าย (Left Democratic Front: LDF)
ฟรีแลนซ์ และจริยศาสตร์การทำงานแบบโปรแตสแตนท์
ภาพยนต์ ฟรีแลนซ์ ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2015) ที่กำกับโดย นวพล ธำรงค์รัตนฤทธิ์ เป็นตัวอย่างที่หาได้ยากของภาพยนต์ไทยที่มีเนื้อหาแบบมาร์กซิสต์ โดยภาพยนต์เรื่องนี้ได้แฝงไปด้วยมุมมองการวิพากษ์ต่อระบบทุนนิยมและจริยศาสตร์การทำงานแบบโปรแตสแตนท์แบบมาร์กซิสต์ที่เราทั้งแบบแนบเนียนและตรงไปตรงมา
นิเวศวิทยาสังคม: มนุษย์นิยมเชิงนิเวศ โดย Daniel Chodorkoff
บทความสั้นๆ ชิ้นนี้ให้ภาพรวมขององค์ความรู้ที่เรียกว่า นิเวศวิทยาสังคม ซึ่งเป็นแนวคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ของมนุษย์กับโลกธรรมชาติ นิเวศวิทยาสังคมต้องการที่จะเสนอว่า ธรรมชาติกับมนุษย์นั้นไม่ใช่สิ่งที่แยกขาดจากกันในแบบที่เรามักเข้าใจ ไม่ว่าจะฝ่ายนักอนุรักษ์ที่ต้องการกีดกันมนุษย์ออกจากธรรมชาติ หรือฝ่ายก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและทุนนิยมที่จ้องจะล้างผลาญธรรมชาติ และมองธรมชาติในฐานะทรัพยากรที่จะไปหยิบมาใช้อย่างไรก็ได้
เราคือผู้ที่ตื่นขึ้นมาจากความฝันที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นฝันร้าย: ย้อนคิดสภาวะ “การเมืองที่แท้จริง” ของสลาวอย ชิเชก กับสถานการณ์ในปัจจุบัน
พวกเขาจะบอกว่าพวกคุณกำลังฝันอยู่ แต่พวกช่างฝันที่แท้จริงคือคนที่คิดว่าสิ่งต่าง ๆ จะดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุดตามทางของมัน แค่เปลี่ยนเสื้อผ้าหน้าผมสักหน่อยแค่นั้น เราจึงไม่ใช่พวกช่างฝัน; เราคือผู้ที่ตื่นขึ้นมาจากความฝันที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นฝันร้าย เราไม่ได้ทำลายอะไรลงไป; เราแค่เป็นเพียงพยานที่กำลังมองเห็นระบบมันทำลายตัวเองลงอย่างช้า ๆ พวกเราคงจำฉากคลาสสิกในการ์ตูน: แมวมาถึงหน้าผา แต่มันเดินต่อไปโดยไม่สนใจความจริงที่ว่าไม่มีพื้นใต้เท้าของมัน มันเริ่มตกลงมาก็ต่อเมื่อมองลงไปและสังเกตเห็นหุบเหวเบื้องล่าง สิ่งที่เรากำลังทำมีเพียงการเตือนผู้ที่มีอำนาจให้มองลงไปที่เหวนั้นต่างหาก
Brian Morris – มานุษยวิทยากับอนาธิปไตย
มานุษยวิทยากับอนาธิปไตยนั้นมี “ความเกี่ยวดองกันอย่างสมัครใจ” อยู่หลายทางด้วยกัน แม้ว่าสิ่งที่มานุษยวิทยาสนใจจะศึกษานั้นมีหลายหลาก ถูกซอยย่อยออกไป และการสำรวจของมันก็ค่อนข้างที่จะกว้าง เนื่องจากเป็นการศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้วก็ยังมีความเฉพาะเจาะจงอยู่ นั่นคือการศึกษาสภาพสังคมก่อนที่จะมีรัฐ
BENJAMIN ZEPHANIAH – ทำไมผมถึงเป็นนักอนาธิปไตย
Peam Pooyongyut Benjamin Zephaniah เป็นกวี นักเขียน และนักเคลื่อนไหวชาวจาไมก้า เขามีผลงานมากมายที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชน การอ่านบทกวีของเขานั้นผสมดนตรี dub เข้าไปด้วย เนื่องจากได้อิทธิพลจากวัฒนธรรมบ้านเกิด ข้อเขียนชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร Dog Section...
คนในกับการต่อต้านมหาวิทยาลัย
Peam Pooyongyut จากการประท้วงหนัดหยุดงาน การเข้ายึดพื้นที่ และการปราบปรามอย่างรุนแรงที่ผ่านมาไม่นาน มหาวิทยาลัยกำลังกลายเป็นสนามรบ แล้วสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรกับนักศึกษาและคนที่ทำงานอยู่ในนั้น? *หมายเหตุผู้แปล: บทความนี้ใช้บริบทมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ...
อนาธิปไตยคืออะไร? – บทที่ 2: ระบบค่าแรง
Peam Pooyongyut คุณเคยหยุดถามคำถามนี้กับตัวเองบ้างไหม: ทำไมคุณถึงต้องเกิดมาจากพ่อกับแม่ของคุณ ไม่ใช่คนอื่น? เอาล่ะ คุณน่าจะเข้าใจว่าผมกำลังจะพูดถึงอะไร ผมหมายความว่าความยินยอมของคุณไม่เคยถูกถามเลย คุณก็แค่เกิดมา ไม่มีโอกาสได้เลือกว่าจะเกิดที่ไหน หรือเกิดจากใคร...